วัคซีน HPV หรือที่รู้จักกันว่า วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คือวัคซีนที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งการติดเชื้อไวรัสนี้อาจทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกเกิดการอักเสบเรื้อรังและเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ รวมถึงสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ เช่น โรคหูดหงอนไก่ โรคมะเร็งทวารหนัก ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
ทำความรู้จัก วัคซีน HPV
วัคซีน HPV เป็นหนึ่งในวัคซีนสำคัญที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดมะเร็งปากมดลูกและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด โดยการฉีดวัคซีน HPV สามารถฉีดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งนี้ วัคซีน HPV มีหลายประเภทและราคาแตกต่างกันไปตามสถานพยาบาล
เชื้อไวรัส HPV คืออะไร ?
เชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papillomavirus Virus เป็นกลุ่มไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ การติดเชื้อไวรัส HPV ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านการสัมผัสทางผิวหนังหรือการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งบางสายพันธุ์ของไวรัสนี้เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก โดยสายพันธุ์ที่พบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุดคือสายพันธุ์ 16 และ 18
วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV มีทั้งหมดกี่ชนิด ?
ในปัจจุบัน วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV มีทั้งหมด 3 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดได้รับการพัฒนาเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
ชนิด 2 สายพันธุ์ : วัคซีนชนิดนี้จะป้องกันไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการการป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยเฉพาะ
ชนิด 4 สายพันธุ์ : วัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกัน HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 และยังครอบคลุมสายพันธุ์ 6 และ 11 ซึ่งเป็นสาเหตุของหูดที่อวัยวะเพศ วัคซีนนี้จึงช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกและโรคหูดที่อวัยวะเพศได้พร้อมกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการการป้องกันครอบคลุมทั้งมะเร็งและหูด
ชนิด 9 สายพันธ์ : เป็นวัคซีนที่ครอบคลุม HPV ถึง 9 สายพันธุ์ ได้แก่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ทำให้ป้องกันได้ครอบคลุมมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันทั้งมะเร็งและโรคอื่น ๆ ที่เกิดจาก HPV หลายสายพันธุ์
วัคซีน HPV เหมาะสำหรับใครบ้าง ?
วัคซีน HPV เหมาะสำหรับบุคคลดังต่อไปนี้
1. เด็กและวัยรุ่น : ควรฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 9 – 14 ปี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ และทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. ผู้หญิง : โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 9 – 26 ปี เพราะเป็นวัยที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกและโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV
3. ผู้ชาย : ผู้ชายในช่วงอายุ 9-26 ปี ก็สามารถรับวัคซีนนี้ได้เช่นกัน เพื่อป้องกันหูดที่อวัยวะเพศและมะเร็งทวารหนัก
4. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง : เช่น ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ HPV หรือผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
ข้อดีของวัคซีน HPV ช่วยป้องกันอะไรได้บ้าง
1. ป้องกันมะเร็งปากมดลูก และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
2. นอกจากมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังสามารถป้องกันมะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งอวัยวะเพศในผู้ชาย
3. ป้องกันหูดที่อวัยวะเพศทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
4. วัคซีนมีประสิทธิภาพสูง ช่วยในการป้องกันไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกและโรคอื่นๆ
5. ผลข้างเคียงน้อย
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนฉีด
การเตรียมตัวก่อนรับวัคซีน HPV มีความสำคัญ เพื่อให้การฉีดเป็นไปอย่างปลอดภัยจึงควรเตรียมตัวดังนี้
1. ปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับวัคซีน เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถรับวัคซีนได้
2. พักผ่อนให้เพียงพอก่อนเข้ารับการฉีด
3. หากมีอาการป่วยหรือมีไข้สูง ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปจนกว่าจะหายดี
การรับวัคซีน HPV ที่ถูกต้องตามคำแนะนำแพทย์
การฉีดวัคซีน HPV ต้องฉีดให้ครบทั้งหมด 3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 6 เดือน จะทำให้การฉีดมีประสิทธิภาพสูง โดยควรฉีดตามระยะเวลาดังนี้
ครั้งที่1 : ฉีดในวันที่กำหนดตามนัดหมาย
ครั้งที่2 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 1–2 เดือน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ดียิ่งขึ้น
ครั้งที่3 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน เพื่อให้การป้องกันมีประสิทธิภาพสูงสุด
ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวหลังฉีด มีอะไรบ้าง
1. หลังฉีดวัคซีน HPV ควรสังเกตอาการหลังฉีดเป็นเวลา 30 นาที
2. อาจมีอาการข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ปวด บวม หรือคันที่จุดฉีด มีไข้ ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์
3. หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ถ้ามีเพศสัมพันธ์ควรมีการป้องกันร่วมด้วย
4. ตรวจสอบวันและเวลาของการฉีดเข็มถัดไป เพื่อให้ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด
อาการข้างเคียงของวัคซีน HPV มีอะไรบ้าง
ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน HPV โดยทั่วไปถือว่ามีความปลอดภัยสูง และไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงมากนัก เเต่ในบางรายอาจมีอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น ได้แก่
1. อาการที่บริเวณฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง และคัน ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นอาการที่ไม่รุนแรง และจะหายไปเองในเวลาไม่นาน
2. อาการทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย และผื่นคันตามตัว ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและมักหายได้เองเช่นกัน
ผู้ที่ไม่ควรรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV
1. ผู้ที่มีประวัติแพ้ต่อวัคซีน HPV หรือส่วนผสมใด ๆ ในวัคซีน
2. หญิงตั้งครรภ์ เว้นแต่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์
3. ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางชนิด หรือผู้ที่กำลังได้รับการรักษาด้วยยาที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
ฉีดวัคซีน HPV ราคาเท่าไหร่
ราคาของวัคซีน HPV อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่เลือกและสถานพยาบาล ที่กังนัมคลินิก ราคาสำหรับวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์อยู่ที่ 6,500 บาทต่อเข็ม หากฉีด 3 เข็ม ราคาเพียง 15,999 บาท เฉลี่ยเข็มละ 5,333 บาทเท่านั้น
ข้อพิจาณาในการเลือกฉีดวัคซีน HPV ที่ไหนดี
การเลือกสถานที่ฉีดวัคซีน HPV เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้การฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จึงควรพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ความสะอาดและมาตรฐานความปลอดภัย : สถานพยาบาลต้องได้รับการรับรองและมีมาตรฐานความสะอาด เพื่อให้เข้ารับการบริการได้อย่างมั่นใจ
2. ความน่าเชื่อถือของสถานพยาบาล : ควรเลือกสถานพยาบาลที่มีมาตรฐาน มีชื่อเสียงและได้รับการรับรอง เช่น โรงพยาบาล หรือคลินิกที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวัคซีน
3. แพทย์และพยาบาล : ตรวจสอบว่ามีแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญคอยดูแล
4. การดูแลหลังการฉีด : สถานพยาบาลควรให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัคซีน และมีการติดตามอาการคนไข้หลังการฉีด
คำถามที่พบบ่อย
จำเป็นต้องตรวจภายในก่อนรับวัคซีนหรือไม่
สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้โดยไม่จำเป็นต้องตรวจภายในหรือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อน เนื่องจากเชื้อ HPV ที่ตรวจพบอาจไม่ได้ก่อให้เกิดการติดเชื้อแบบฝังแน่นซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา
วัคซีนสามารถให้ในสตรีให้นมบุตรได้หรือไม่
ในระยะให้นมบุตร ผู้หญิงสามารถฉีดวัคซีน HPV ได้ โดยไม่มีข้อมูลว่าส่งผลกระทบต่อการให้นมบุตรหรือทำให้เกิดอันตรายต่อเด็ก อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนการฉีดวัคซีน เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยต่อแม่และเด็ก
ถ้าหากฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกทั้งแบบ 2 สายพันธุ์ หรือ 4 สายพันธุ์ครบทั้ง 3 เข็มแล้ว จำเป็นต้องฉีด แบบ 9 สายพันธุ์ เพิ่มไหม
หากได้รับการฉีดวัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์หรือ 4 สายพันธุ์ครบทั้ง 3 เข็มแล้ว สามารถฉีดวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์เพิ่มได้ โดยต้องเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนก่อนเริ่มฉีดวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์พิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นในการฉีดวัคซีน
เคยได้รับเชื้อไวรัส HPV มาแล้ว วัคซีนยังคงมีประโยชน์หรือไม่
ยังคงมีประโยชน์ เนื่องจากวัคซีน HPV จะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์อื่นๆ ที่ยังไม่ติดและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำจากสายพันธุ์เดิม โดยภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาติไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันการติดเชื้อในอนาคต การฉีดวัคซีนจึงมีความสำคัญ
ได้รับวัคซีนเอชพีวียังต้องมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไหม ?
แม้จะได้รับวัคซีน HPV แล้ว ผู้หญิงยังต้องมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันได้ทุกสายพันธุ์ของไวรัส HPV
การฉีดวัคซีน HPV ป้องกันโรคได้นานแค่ไหน
การฉีดวัคซีน HPV สามารถให้การป้องกันโรคได้ยาวนานมากกว่า 10 ปี โดยจากการศึกษาพบว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนสามารถอยู่ได้นานตลอดช่วงอายุ โดยไม่จำเป็นต้องมีการกระตุ้นซ้ำ
วัคซีนสามารถให้ในสตรีตั้งครรภ์ ได้หรือไม่
ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีน HPV ในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาว่าปลอดภัยเพียงใด อย่างไรก็ตาม หากผู้หญิงได้รับวัคซีนไปแล้วพบว่าตั้งครรภ์ สามารถดำเนินการฉีดวัคซีนต่อได้หลังคลอด โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มใหม่
อายุ 50 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ไหม
ผู้ที่อายุ 50 ปีก็สามารถฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ โดยวัคซีนนี้ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคแม้ในผู้ที่มีอายุมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนในอายุ 50 ปีอาจมีความจำเป็นและประสิทธิภาพน้อยกว่ากลุ่มเด็กและวัยรุ่น
วัคซีน HPV ผู้ชายฉีดได้ไหม
วัคซีน HPV ไม่เพียงแต่ป้องกันมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังสามารถป้องกันโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อ HPV ในผู้ชาย เช่น มะเร็งทวารหนัก หูดที่อวัยวะเพศ
แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับ วัคซีน HPV
clevelandclinic. HPV Vaccine: 11/9/2023
https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/21613-hpv-vaccine
healthline Written by Annamarya Scaccia:What Are the Pros and Cons of the HPV Vaccine?-June 14, 2019
https://www.healthline.com/health/sexually-transmitted-diseases/hpv-vaccine-pros-and-cons
Human Papillomavirus Vaccine Efficacy and Effectiveness against Cancer – PMC-Vaccines (Basel). 2021 Nov 30
https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC8706722/
Health New Zealand Te whatu Ora.HPV (human papillomavirus) vaccine–12 July 2024
https://info.health.nz/immunisations/vaccines-aotearoa/hpv-human-papillomavirus-vaccine